การประชุมวิชาการนานาชาติว่าด้วยการเรียนการสอนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์หลังภาวะการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงร่วมการประชุมวิชาการนานาชาติว่าด้วยการเรียนการสอนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์หลังภาวะการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 – 31 ตุลาคม 2566 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

โอกาสนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “การพัฒนาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษาที่ยั่งยืน ช่วงหลังโควิด 19” โดยทรงกล่าวถึงประสบการณ์เกี่ยวกับการศึกษาที่ได้ทรงพบว่าโรคโควิดมีปัญหาต่อการศึกษาเด็กอย่างไร การเรียนการสอนในถิ่นห่างไกล การเรียนการสอนแบบออนไลน์ ซึ่งหลายภาคส่วนได้ร่วมกันในการที่จะทำให้การศึกษาดำเนินไปได้รวมถึงความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งคนยุคหลังโควิดทุกคนจำเป็นต้องเรียนรู้และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในชีวิตและการงานแทบทุกด้านทักษะอาชีพยุคโควิด ซึ่งเร่งความต้องการเชื่อมโยงข้อมูลที่มีอยู่ ทำให้เห็นความจำเป็นของการเรียนรู้อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการ Reskill, Upskill และ เรียนรู้ new skill ที่จำเป็นต่อการทำงานในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และสอดคล้องกับความต้องการใหม่ ๆ การต่อสู้กับเชื้อโรคที่มองไม่เห็น เป็นบทเรียนให้ต้องระมัดระวังกับการใช้ชีวิตมากขึ้นอุดมศึกษายุคหลังโควิด ที่ต้องระดมความคิดและปรับตัว ตัวอย่างเช่น จัดการเรียนการสอนที่มิใช่มุ่งสอนแต่ความรู้ แต่สอนให้เรียนรู้รอบด้าน ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้ เป็นต้น โดยสิ่งที่ทรงบรรยายล้วนเป็นเรื่องสืบทอดพระปณิธานของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งผู้ที่มีโอกาสจากงานที่ทรงมีพระปณิธานนี้ควรจะช่วยกันให้โอกาสผู้อื่นต่อไป
ในวาระนี้ ทรงฟังการบรรยายจากนักวิทยาศาสตร์ระดับโลกเกี่ยวกับงานวิจัยที่นำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในการออกแบบยาตัวใหม่สำหรับรักษาโรคได้อย่างแม่นยำมากขึ้น นอกจากนี้นักการศึกษาชั้นนำยังได้บรรยายเกี่ยวกับความต้องการของกำลังคนด้านสะเต็มที่เพิ่มขึ้นและแนวทางการเตรียมกำลังคนที่ตอบรับสู่โลกของเทคโนโลยีในปัจจุบัน การประชุมวิชาการนานาชาตินี้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์หลังภาวะการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งการเรียนการสอนทั่วโลกได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรค แม้จะมีความพยายามในการหาวิธีการเรียนการสอนทดแทนการเรียนแบบพบหน้า ก็ยังคงเกิดช่องว่างของคุณภาพการเรียนรู้ ด้วยเหตุที่วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เป็นฐานความรู้ในการสร้างคนรุ่นใหม่ขับเคลื่อนอนาคต งานนี้จึงเป็นเวทีสำคัญที่นักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ชั้นแนวหน้า ร่วมกันพิจารณาปัญหาการศึกษาที่ทั่วโลกต้องเผชิญ เพื่อหาแนวทางต่อยอดพัฒนาคุณภาพการศึกษาภายหลังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภายในงานยังมีนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และนิทรรศการ 3 โซนซึ่งแสดงประเด็นหลักของงาน ได้แก่
โซนที่ 1 Talented students ที่กล่าวถึงผลกระทบของการระบาดต่อกลุ่มนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ และแนวทางการแก้ปัญหาและการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนกลุ่มนี้ให้สามารถพัฒนาได้อย่างเต็มศักยภาพ
โซนที่ 2 Inclusive education แนวทางการแก้ปัญหาของความเหลื่อมล้ำที่ส่งผลให้การกระจายตัวของการศึกษาไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่นักเรียนไม่สามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดช่องว่างของการเรียนรู้ในสังคม
และโซนที่ 3 Digital transformation กล่าวถึงบทบาทของสื่อการเรียนรู้ดิจิทัล ที่ช่วยบรรเทาปัญหาการเรียนการสอนระหว่างการระบาดของโรคติดเชื้อและในปัจจุบัน
  1. https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid02Za9LZtTFL5oNnsqRqg88K9aw5ar3W7FSTdcUy1X2TrMCbGFXVN7zM55QN4mDdS8Hl&id=100064451632155&mibextid=Nif5oz
  2. https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid0ztoXzb2bUXoE1ntnFc9arpXvcgJ53GYXF2e7cLA88E8iLkvES1L7yPGP1zghiPjGl&id=100064451632155&mibextid=Nif5o

และวันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 เป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ และ นักวิชาการที่เข้มด้วยความรู้และทักษะประสบการณ์รวม 6 หัวข้อ ได้แก่ การพัฒนาผู้เรียนสู่เส้นทางโอลิมปิกวิชาการระดับนานาชาติ (Developing Learners Towards International Science Olympiads) การพัฒนาผู้เรียนสู่เส้นทางโอลิมปิกวิชาการระดับชาติ (Preparing Learners for the National Science Olympiads) การเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ในโรงเรียนนานาชาติ (Instruction and Learning in Science and Mathematics at International Schools) การพัฒนาผู้เรียนแบบองค์รวมในโรงเรียนนานาชาติในสถานการณ์ Post COVID (Holistic Development of Learners at International Schools after COVID-19) การจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนทุรกันดารห่างไกล (Teaching and Learning in Rural and Remote Schools) และ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน (Applying Technology for Teaching and Learning)
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid02VJnRx5cpQnBn1wbb8FRaXVTUBScxTUHqScHj6s3NMV6PZ72b8VjHMGsF8L1dbHYml&id=100064451632155&mibextid=Nif5oz

ที่มา : fb มูลนิธิ สอวน.